ดนตรีการล้านนามีมานานตามที่ปรากฏจากหลักฐานในอดีตถึงปัจจุบันกล่าวถึงเครื่องดนตรีบางประเภทอาจไม่มีใครเคยคิดว่าเป็นสิ่งที่อยู่กับล้านนามาก่อน
เช่น จะเข้ แตรสังข์ และแคน เครื่องดนตรีเหล่านี้แพร่กระจายในแถบล้านนาและไทยมาช้านาน จากการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์อาจจะกล่าวได้ว่าดนตรีล้านนาในอดีตมักมีบทบาทที่โยงใยกับชีวิตความเป็นอยู่และที่สาคัญยังโยงใยกับศาสนาและกษัตริย์โดยเฉพาะเชิงพิธีกรรมดังปรากฏในจารึกหลักที่ ๖๒ ของวัดพระยืน ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลาพูนจารึกเมื่อพ.ศ.๑๙๑๓ มีข้อความกล่าวไว้ว่า
...ตีพาทย์ ดังพิณ แตรสังข์ ฆ้อง กลอง ปี่สรไน พิสเนญชัย ทะเทียด กาหล แตรสังข์ มรทรค์ ดงเดือด เสียงเลิศเสียงก้อง อีกทั้งคนโห่อื้อ ดาสะท้าน ทั่วทั้งนครหริภุญชัยแล...
เครื่องดนตรีที่กล่าวถึงนี้ล้วนเป็นเครื่องประโคมที่มีความสัมพันธ์กับพิธีกรรมทางศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุทธในแถบสุโขทัยและล้านนา เพราะจารึกของวัดพระยืนเป็นการจารึกเรื่องราวของพระมหาสมุนเถระที่มาจากสุโขทัย
การดำรงอยู่คงต้องอาศัยปัจจัยสาคัญอย่างน้อย ๒ ประการได้แก่ แรงสนับสนุนส่งเสริม และ ความนิยม ซึ่งแรงสนับสนุนส่งเสริมที่ปรากฏชัดได้แก่การจัดสอนฟ้อนราและดนตรีในราชสานักอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในระยะแรกอาจสอนเฉพาะแบบราชสานัก ต่อมามีการส่งเสริมการฟ้อนราและดนตรีพื้นบ้านเข้าไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศในรัชกาลที่ ๕ มีท่านทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาดนตรีไทยภาคกลาง มโหรี ปี่พาทย์เป็นต้น ทางด้านการละคร ทรงฝึกซ้อมให้คณะละครราของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์โดยดัดแปลงให้เข้ากับทางล้านนา
สาหรับดนตรีถึงแม้จะไม่มีหลักฐานอ้างอิงว่าทรงส่งเสริมเครื่องดนตรีล้านนาชนิดใด แต่พออนุมานหรือคาดเดาจากร่องรอยการแสดงที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน เช่น ละครร้องเรื่องน้อยใจยา น่าจะใช้สะล้อและซึงเป็นหลัก การฟ้อนเล็บ น่าจะใช้วงกลองตึ่งนง ส่วนฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนดาบ น่าจะเป็นวงปี่พาทย์ (วงเต่งถิ้ง) เป็นต้น